พูดภาษาอังกฤษให้ดี แนวจิตวิทยา ตอนที่ 3 : การพูดอ่านและเขียนมีหลักการเดียวกัน

ตอนที่ 3 : การพูดอ่านและเขียนมีหลักการเดียวกัน
เนื้อหาทั้งหมดนี้เรานำมาจากบทความของคุณ คนบ้านเดียวกัน บนเว็บ     www.pantip.com
ลิงค์บทความ :   http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K10586407/K10586407.html
ต้องขอขอบคุณคุณ "คนบ้านเดียวกัน" จริงๆที่นำบทความดีๆแบบนี้มาแบ่งปันค่ะ

"พูดอ่านและเขียนมีหลักการเดียวกัน"
พูด งูๆปลาๆ พูดได้ไม่ยาก แต่จะพูดให้เหมือนเจ้าของภาษาทั้งการใช้สำนวนและการใช้คำให้หลากหลายต้องพยายามครับ ส่วนการอ่านมีระดับความง่ายกว่าการเขียนแน่นอนอยู่แล้วครับ เพราะ เราเป็นผู้ตีความ เราไม่ได้เป็นผู้ถ่ายทอด เป็นเรื่องธรรมชาติ คนไทยพูดภาษาไทยกันทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าถูกหลักอักขระ เช่นเดียวกัน คนไทยหลายคน เขียนภาษาไทยไม่มีความสละสลวย (อย่างผมเป็นต้น ในบางครั้ง) แต่ ที่เขียนไม่ได้ีดี เพราะ


ตัวอย่างน่ะครับ...ผมไม่ได้เป็นนักเขียน ดังนั้นผมจึงไม่ได้ใส่ใจเรื่องการใช้ภาษาเขียนเท่าไหร่นัก ผมจึงเลือกอ่าน หนังสือ หรือฟังข่าวหรือคำพูด เพื่อใจความเท่านั้น โดยมิได้มีการสังเกตุการใช้ภาษาของพูดอ่านและเขียนมีหลักการเดียวกัน

     พูด งูๆปลาๆ พูดได้ไม่ยาก แต่จะพูดให้เหมือนเจ้าของภาษาทั้งการใช้สำนวนและการใช้คำให้หลากหลายต้องพยายามครับ ส่วนการอ่านมีระดับความง่ายกว่าการเขียนแน่นอนอยู่แล้วครับ เพราะ เราเป็นผู้ตีความ เราไม่ได้เป็นผู้ถ่ายทอด เป็นเรื่องธรรมชาติ คนไทยพูดภาษาไทยกันทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าถูกหลักอักขระ เช่นเดียวกัน คนไทยหลายคน เขียนภาษาไทยไม่มีความสละสลวย (อย่างผมเป็นต้น ในบางครั้ง) แต่ ที่เขียนไม่ได้ีดี เพราะ 
     ตัวอย่างน่ะครับ...ผมไม่ได้เป็นนักเขียน ดังนั้นผมจึงไม่ได้ใส่ใจเรื่องการใช้ภาษาเขียนเท่าไหร่นัก ผมจึงเลือกอ่าน หนังสือ หรือฟังข่าวหรือคำพูด เพื่อใจความเท่านั้น  โดยมิได้มีการสังเกตุการใช้ภาษาของบุคคลใดๆ คนไทยชอบบอกว่าเขียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากมาก แต่ต้องอย่าลืมน่ะครับว่า เราเองจะเขียนภาษาไทยได้ีดีและสวยงาม เพราะเราเองต้องเป็นคนที่ใช้ภาษาไทยอย่างสวยงามเช่นเดียวกันครับ เราเขียนได้เพราะเราพูดได้ เราเขียนภาษาให้ดีได้เพราะเราหมั่นศึกษาและเรียนรู้แต่ภาษาที่ดีๆเข้ามา

     ดังนั้นผมจึงคิดว่าใครก็ตามถ้าจะเขียนภาษาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเชิงวิชาการ หรือทั่วไป หรือไปในแนวทางการ เหมือนจดหมายขอวีซ่า เป็นต้นจะต้องสามารถใช้ภาษานั้นๆได้อย่างคล่องแคล่วในเรื่องที่ๆผู้นั้นจะเขียน  สำหรับคนที่ไปเรียนพิเศษสอนเขียนภาษาอังกฤษผมบอกได้เลยว่าสิ่งที่เรียนรู้จากห้องเรียนนั้นคือการจัดโครงสร้างประโยค  เรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาเท่านั้น อาจารย์ผู้สอนอย่างมาก็ตรวจไวยากรณ์ให้ แต่อาจารย์ผู้สอนไม่สามารถเดินทางมาบอกผู้เรียนเป็นการส่วนตัวได้ว่าหากอยู่มาวันหนึ่งท่านผู้อ่านจะต้องเขียนจดหมายไปเรียนต่อต่างประเทศ  โดยจะต้องเล่าประวัติการทำงาน ท่านผู้เขียนจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร...สมมุติว่า....หากท่าผู้เขียนเป็นวิศวกร แล้วจะต้องอธิบายขั้นตอนการทำงานเป็นภาษาอังกฤษในจดหมาย  ในขณะเวลาเดียวกันผู้เขียนใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเพียงแค่สื่อสารเท่านั้นเช่น ชอบกินอะไร ชอบทำอะไร ชอบไปไหน เรียนที่ไหนมา หรือจะเม้าท์เรื่องคนในออฟฟิศ  แต่ท่านผู้เขียนไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษในบริบทวิศวกรรมมาก่อน แล้วท่านผู้เขียนจะเขียนจดหมายเรียนต่อได้อย่างไร

     ผมอยากให้ผู้อ่านทุกคนมองว่า ไม่ใช่ว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่ายหรือยาก แต่เป็นเรื่องที่เราต้องขยันหา เข้ามาใส่ตัวค่อยๆ สร้างสมเข้าไป จากประสบการณ์ และที่สำคัญ การกล่าวว่า พูดอังกฤษง่ายกว่าเขียน เป็นความเชื่อที่ผิด สำหรับผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองน่ะครับ เหตุผลนั้นง่ายๆ ครับ ถ้าคุณสามารถพูดภาษาอังกฤษได้จริง ไม่ใช่งูๆปลาๆ คุณก็ต้องสามารถถ่ายทอดคำพูดในภาษาอังกฤษของคุณเองลงไปเป็นตัวหนังสือได้เช่นเดียวกัน


     เว้นแต่ จะเขียนเป็นจดหมายเชิงวิชาการ สมัครงาน เรียนต่อ ๆลๆ เหล่านี้ต้องอาศัยความสามารถทางภาษาในระดับสูง ซึ่งไม่ใช่เรื่องโชคหรือพรสวรรค์  คนที่เขียนได้ต้องอาศัยการเรียนรู้เช่นเดียวกัน เพื่อนผมโตมาจากสหรัฐอเมริกา ยังเคยแสดงความไม่มั่นใจว่าเขาจะสามารถเขียนจดหมายไปเรียนต่อได้ดีหรือไม่ ทั้งๆที่เขาเองพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก

     สิ่งหนึ่งที่ท่านผู้อ่านจะต้องกำจัดไปจากระบบทัศนคติน่ะครับ คำว่า "เจ้าของภาษา" ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของภาษาเองนั้นจะสามารถสื่อสารได้ หรือเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา เราเองเจ้าของภาษาไทย ยังไม่สามารถร่างจดหมายภาษางามๆได้เลย ผมเองโดนโยนงานมาให้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษบ้าง โดยบุคคลผู้นั้นอ้างว่าผมพูดภาษาอังกฤษได้ (ดีกว่าเท่านั้น แต่ผมก็ไม่ใช้เจ้าของภาษา) แล้วให้ผมร่างจดหมายทางการขึ้นมา ผมเลยสวนกลับไปว่าทำไม พี่ไม่เขียนเป็นภาษาไทยมาก่อน แล้วผมจะแปลให้ เขาตกลง และพอผมได้ภาษาไทยที่พี่เขาเขียนขึ้นมา กลับไม่มีใจความเนื้อหาใดๆทั้งสิ้น มีแต่เพียงประโยคสองสามประโยคสั้นๆ เขาให้เหตุผลว่าเขานึกไม่ออก (แล้วยังจะให้ผมมาเขียนให้อีก) ที่นี่ พี่เขาเลยเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า คนพูดภาษาใดๆได้ไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนได้ไร้ที่ติทุกคน

     ที่ผมเน้นให้ผู้อ่านเริ่มจากการเป็นเด็กนักเรียน Grade 1 นั้นเพราะผมต้องการให้ท่านผู้อ่านได้มีระบบการเรียนภาษาให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ถึง แม้ว่าตอนนี้ท่านผู้อ่านจะพูดอังกฤษได้ เหมือนเด็กฝรั่งแล้วก็ตาม ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านก็สามารถเขียนได้เหมือน เด็กฝรั่งเช่นเดียวกัน คิดดูในอนาคต พอท่านผู้อ่านเริ่มเรียนระบบภาษาที่ผมวางไว้จนเท่าระดับ Grade 10 หรือเทียบเท่านักเรียน ม 4 เรานั่นเอง ถึงตอนนั้นท่านผู้อ่านจะสามารถเขียนและพูดได้คล่องขึ้นแค่ไหน

ตอนต่อไปผมจะกล่าวหลักการอีกเรื่องน่ะครับ ตอนนี้ขอตัวไปทำงานก่อนน่ะครับผม


เนื้อหาทั้งหมดของบทความ พูดภาษาอังกฤษให้ดี แนวจิตวิทยา
ตอนที่ 1 :    ให้ทุกคนคิดว่าตัวเองเป็นเด็กฝรั่งที่กำลังเริ่มหัดพูด หัดอ่าน หัดเขียน
ตอนที่ 2 :    อุปกรณ์และขั้นตอนในการเรียน(ด้วยตัวเอง)
ตอนที่ 3 :    การพูดอ่านและเขียนมีหลักการเดียวกัน 
ตอนที่ 4 :    การหาวัตถุดิบ(หนังสือ อินเตอร์เน็ต คน และแรงบันดาลใจ)
ตอนที่ 5 :    การหาวัตถุดิบ หรือ Input(2)
ตอนที่ 6 :    รู้จักการเลียนแบบน้ำเสียง แล้วนำไปใช้
ตอนที่ 7 :    สิ่งที่ควรรู้ในการเรียนภาษาอังกฤษ
ตอนที่ 8 :    มาต่อที่เรื่องของวัตถุดิบ หรือ Input(3)
ตอนที่ 9 :    ยังคงอยู่ที่เรื่องของวัตถุดิบ หรือ Input(4)
ตอนที่ 10 :  ประสบการณ์การทดลองส่วนตัวในการเรียนภาษาอังกฤษ


ติดตามตอนต่อไป คลิ๊กที่นี่ค่ะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น